Untitled Document      โทร. 02-2758120 , (มือถือ)0981045467   
 
Untitled Document
      หน้าหลัก       โปรโมชั่น       บริการของเรา      ตารางแพทย      ข่าวสารและกิจกรรม       ตารางการฉีดวัคซีน       สาระน่ารู้เรื่องสุขภาพ       เกี่ยวกับเรา       รับสมัครงาน      ติดต่อเรา
 
 

ภาวะสมองเสื่อม


                                                          

สมองเสื่อม เป็นภาวะที่ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำไม่ได้ เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ ทำให้ผู้ที่เป็นมีอาการหลงลืม การใช้ภาษาผิดปกติ และพฤติกรรมรวมถึงอารมณ์เปลี่ยนไป
สมองเสื่อม.... คืออะไร ?
ภาวะสมองเสื่อม จริงๆ แล้ว เป็นแค่อาการแสดงอย่างหนึ่งของโรค ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ความหมายโดยทั่วไปของสมองเสื่อม คือ การด้อยประสิทธิภาพ ในการทำงานของสมองทุกๆ ด้าน แบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น ความสามารถในการเรียนรู้ ความจำ การคำนวณ หรือการใช้ความคิดที่สลับซับซ้อน รวมถึงประสิทธิภาพ ทางการสื่อภาษา การแปลความหมาย
จะทราบได้อย่างไรว่ามีอาการสมองเสื่อม ?
ก่อนที่แพทย์จะบอกว่า คุณเป็นโรคสมองเสื่อม แพทย์จำเป็นต้องตรวจแยก โรคสมองเสื่อมเทียม ซึ่งพบได้บ่อย อันได้แก่ ภาวะที่เกิดจากความเครียด นอนไม่หลับ ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคจิตประสาทอื่นๆ ซึ่งมีผลทำให้ความคิดอ่าน ของสมองไม่ปกติ ส่วนใหญ่คนที่เป็นโรคสมองเสื่อมจริงๆ มักจะไม่ค่อยรู้ตัวว่าตัวเองเป็น แต่ญาติ หรือคนใกล้ชิดหลายๆ คน จะสังเกตอาการ และให้ข้อมูลแก่แพทย์ ทราบถึงความผิดปกติทางสมอง ที่ค่อยเป็นค่อยไป ตรงกันข้ามกับผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมเทียม ที่มักจะบอกกับแพทย์โดยตรงว่า ตัวเองหลงลืมง่าย และวิตกกังวลว่าจะเป็นโรคสมองเสื่อม ในการตรวจ แพทย์อาจต้องทดสอบความจำ การคำนวณ สังเกตการแก้ปัญหาง่ายๆ คนที่เป็นโรคสมองเสื่อม มักสูญเสียความจำ ที่เพิ่งเรียนรู้ใหม่ๆ แต่ความจำในอดีต มักจะยังดี ยกเว้นในกรณีที่เป็นมาก หรือเป็นมานานๆ
สาเหตุของสมองเสื่อม
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า เกิดจากความเสื่อม ดังนั้น จึงพบได้บ่อยในคนสูงอายุ ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นไปตาม กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ และสังขาร ส่วนใหญ่ไม่สามารถแก้ไขให้ดีได้ดังเดิม สาเหตุใหญ่ๆ แบ่งได้ดังนี้
1. สมองเสื่อมจากวัยชรา มักพบในคนสูงอายุวัย 65-70 ปีขึ้นไป
2. โรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะสมองเสื่อม ที่เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร คืออายุไม่เกิน 65 ปี โรคนี้พบบ่อยในประเทศแถบตะวันตก การวินิจฉัยที่แน่นอน ต้องทำการตรวจชิ้นเนื้อสมอง เราจะพบพยาธิสภาพ ของเซลสมองเสื่อมลง เหมือนคนแก่อายุ 70-80 ปี ในเมืองไทย ยังมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้น้อย จึงดูเหมือนว่าพบอุบัติการณ์โรคนี้ น้อยกว่าความเป็นจริง
3. โรคสมองเสื่อมที่เกิดจาก เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ มักเกิดจากหลอดเลือดเส้นเล็กๆ ทั่วไปอุดตันซ้ำๆ มานาน ทำให้เซลสมองตาย และการทำงานของสมองโดยรวมเสื่อมลง โรคนี้พบอุบัติการณ์ในคนไทย ได้บ่อยกว่าโรคอัลไซเมอร์ คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงมานาน โดยไม่ควบคุมให้ดี มักมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้ง่าย
4. ภาวะเลือดคั่งในสมอง หรือเนื้องอกในสมอง เป็นโรคที่แพทย์ต้องพยายามมองหา เพราะคนไข้ อาจมาด้วยอาการพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง คล้ายภาวะสมองเสื่อม บางรายสามารถรักษาให้หายได้ โดยการผ่าตัด
5. ภาวะขาดวิตามิน บี 12 พบได้น้อย มักพบในคนที่ได้รับการผ่าตัด กระเพาะลำไส้มานานๆ และขาดอาหาร
6. โรคติดเชื้อที่มีผลทางสมอง เช่น ซิฟิลิส ปัจจุบันพบน้อย ไวรัสสมองอักเสบ ซึ่งมีหลายชนิด และโรคยุคใหม่มาแรง คือ ไวรัสเอดส์ ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้
7. สมองเสื่อมจากการติดสุราเรื้อรังนานๆ
8. ภาวะที่เกิดตามหลังการขาดออกซิเจน เช่น มีอาการชักซ้ำติดต่อกันนานๆ หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นเวลานานๆ
นอกจากนี้ ยังมีบางโรคทำให้เกิดสมองฝ่อบางส่วน เช่น โรคพาร์กินสัน ซึ่งทำให้เกิดอาการสั่น เคลื่อนไหวช้าลง เป็นต้น
การรักษา
ขึ้นอยู่กับสาเหตุ และการวินิจฉัยแยกโรคที่ถูกต้อง ส่วนใหญ่จะแก้ไขให้ดีดังเดิมได้ยาก ยกเว้นภาวะเลือดออกในสมอง บางกรณี สามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัด แพทย์อาจใช้ยาบำรุงสมอง เพื่อหวังผลชะลอความรุนแรงของโรค ให้เสื่อมช้าลง โดยทั่วไป การป้องกันในสิ่งที่ทำได้ ย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เราไม่สามารถหยุดยั้ง ความเสื่อมตามธรรมชาติได้ แต่เราสามารถดูแลสุขภาพของเราให้ดี เช่น ควบคุมความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า หลีกเลี่ยงสารเสพติด ซึ่งจะมีผลทำลายสุขภาพในระยะยาว ไม่ส่ำส่อนทางเพศ เพื่อป้องกันโรคเอดส์ ทำจิตใจให้สดชื่น แจ่มใสอยู่เสมอ มีความรัก ความเข้าใจ ความอบอุ่นในครอบครัว ยอมรับสภาพตามความเป็นจริง ไม่เคร่งเครียดเกินไป เพียงเท่านี้ ก็สามารถทำให้ชีวิต มีความสุขได้ระดับหนึ่ง
นายแพทย์สรรเสริญ พงษ์ลิขิตมงคล
แผนกอายุรกรรม







Untitled Document



ทำบุญประจำปีคลินิก



ตรวจสุขภาพประจำปี บริษัท สายน้ำทิพย์เด็นทอลแลบอราตอรี่ จำกัด



ตารางฉีดวัคซีน ปี 2563

Untitled Document

Untitled Document
สหแพทย์รัชดา คลินิกเวชกรรม 169/63 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทร.02-2758120 (มือถือ)0981045467 ; แฟกซ์ : 02-2758120
รายชื่อบริษัทประกันกลุ่ม สามารถเข้ารับบริการที่สหแพทย์รรัชดา คลินิกเวชกรรม