Untitled Document      โทร. 02-2758120 , (มือถือ)0981045467   
 
Untitled Document
      หน้าหลัก       โปรโมชั่น       บริการของเรา      ตารางแพทย      ข่าวสารและกิจกรรม       ตารางการฉีดวัคซีน       สาระน่ารู้เรื่องสุขภาพ       เกี่ยวกับเรา       รับสมัครงาน      ติดต่อเรา
 
 

สาระความรู้เรื่องโรคเบาหวาน


                                                           
 

สาระความรู้เรื่องโรคเบาหวาน
เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งเป็นฮอร์โมนอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยนำพาน้ำตาลเข้าไปในเนื้อเยื่อ เพื่อไปใช้เป็นพลังงาน ในกรณีที่ร่างกายขาดอินซูลิน จะเกิดภาวะน้ำตาลคั่งในเลือด แล้วถูกขับออกมากับปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะให้เป็นปกติได้
โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ไปสู่บุตรหลานได้
สาเหตุ :
เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งเป็นฮอร์โมนอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยนำพาน้ำตาลเข้าไปในเนื้อเยื่อ เพื่อไปใช้เป็นพลังงาน ในกรณีที่ร่างกายขาดอินซูลิน จะเกิดภาวะน้ำตาลคั่งในเลือด แล้วถูกขับออกมากับปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการเบาหวาน
อาการ : ระยะแรกไม่มีอาการบ่งชัด เมื่อเป็นระยะหลัง จะมีอาการชัดเจนคือ

•ดื่มน้ำบ่อยและมาก
• กินจุแต่ผอมลง
•เป็นแผลหรือฝีง่าย แต่หายยากฃ
•ตาพล่ามัว
•บุตรคนแรกคลอดน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม
•ปัสสาวะบ่อยและมาก
•น้ำหนักลด และอ่อนเพลีย
•คันตามผิวหนัง และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
• ชาปลายมือปลายเท้า ความรู้สึกทางเพศลดลง

การรักษา : ต้องควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และควบคู่กับการรักษาทางยา
1.อาหาร : อาหารที่รับประทานแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรก ควรหลีกเลี่ยงไม่ควรรับประทานได้แก่
•อาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบโดยตง รวมทั้งน้ำผึ้งด้วย
•ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ฯลฯ
•เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลม ฯลฯ

กลุ่มสอง ต้องจำกัดปริมาณ ได้แก่

•อาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เผือก มัน ฯลฯ
•อาหารประเภทไขมัน เช่น มะพร้าว น้ำมันหมู อาหารที่ทอดด้วยน้ำมัน ฯลฯ
•ผลไม้ที่มีรสหวานอ่อนๆ เช่น ส้ม มะละกอสุก ฯลฯ

กลุ่มสาม รับประทานได้ไม่จำกัด เช่น
•เนื้อสัตว์ที่ไม่มีมัน และปลา
•เครื่องดื่มที่ไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ
•เครื่องเทศต่างๆ ถั่วต่างๆ
•ควรกินอาหารที่มีเส้นใยมากๆ เช่น ข้าวซ้อมมือ ผักทุกชนิด เม็ดแมงลัก
2.ออกกำลังกานสม่ำเสมอ จะเกิดผลดี
•ทำให้ระดับน้ำตาล ควบคุมได้ดีขึ้นและทำให้การใช้ยากินหรือยาฉีดน้อยลงได้
•ทำให้ช่วยลดน้ำหนักตัว
•ช่วยลดภาวะความดันโลหิตสูง และอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
3. ยา : ควบุคมระดับน้ำตาล ด้วยยารักษาเบาหวานสม่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์

โรคแทรกซ้อน
1.พบภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
2.โรคตาจากเบาหวาน เช่น ตามัว ต้อกระจก
3.โรคไตจากเบาหวาน เช่น เกิดไตเสื่อมสมรรถภาพในการขับถ่าย และเกิดไตวายในที่สุด
4.หลอดเลือดสมองตีบ-ตัน ทำให้เป็นอัมพาต กลืนลำบาก พูดไม่ชัด
5.หลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย
6.กลุ่มโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายเกิดแผลที่เท้าและเน่า มีแผลจะติดเชื้อง่ายรักษายาก
7.เกิดอักเสบจากปลายประสาท ทำให้มีอาการชาปลายมือ ปลายเท้า หมดความรู้สึกทางเพศ
การปฏิบัติตัว ของผู้ป่วยเบาหวาน
•ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน เช่น เดิน หรือ วิ่งเหยาะๆ
•รักษาเท้าให้สะอาด อย่าตัดเล็บสั้นเกินไป และอย่าสวมรองเท้าคับเกินไป
•ถ้ามีบาดแผลรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษา
•ทำจิตใจให้สบาย ความเครียดหรือกังวลใจมากๆ จะทำให้น้ำตาลถูกขับออกจากตับมาก มีผลให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น
อันตราย ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันที
1. ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมาก :
ผู้ป่วยจะมีอาการกระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ใจเต้นแรงเร็ว หายใจหอบลึก มีกลิ่นเหมือนผลไม้สุก ซึม และอาจหมดสติได้
วิธีแก้ไข
•รีบพบแพทย์หรือส่งโรงพยาบาลด่วน หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้
2.ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
วิธีแก้ไข
•เมื่อเริ่มรู้สึกหิว ใจสั่น มือสั่น ให้กินน้ำหวาน หรือน้ำตาล หรือของหวานๆ ทันที
•หากหมดสติให้นำส่งโรงพยาบาล ถ้าชักช้าอาจอันตรายถึงชีวิต
เราจะทราบว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ โดย
•ไปพบเพทย์ตรวจหาน้ำตาลในเลือด
•ตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะ

ข้อปฏิบัติในการมาเจาะเลือด เพื่อตรวจเบาหวาน
1.งดอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิด ยกเว้นน้ำดื่ม ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนก่อนวันเจาะเลือดจนถึงเวลาเจาะเลือด
2.งดฉีดกลูโคส น้ำเกลือทางเส้นเลือดหลังเที่ยงคืนจนถึงเวลาเจาะเลือด
การรักษาเบาหวานต้องยึดสิ่งสำคัญ คือ การรักษาทางยา ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย ผู้ป่วยเบาหวาน ถ้าเป็นวัณโรคด้วย โรคอาจกำเริบมากขึ้น ต้องควบคุมรักษาเบาหวานโดยใกล้ชิดจากแพทย์
แหล่งข้อมูล : สถาบันโรคทรวงอก

 

 

 

 

 

 

 

 

Cholesterol คืออะไร ?
Cholesterol เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต เนื่องจากร่างกายต้องใช้เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของผนังเซลล์ และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ฮอร์โมน เช่น estrogen progesterone , testosterone , aldosterone และ cortisol นอกจากนั้น cholesterol ยังใช้ในการสร้างวิตามินดี และน้ำดีสำหรับย่อยไขมันในอาหาร เป็นต้น
ในระบบหมุนเวียนโลหิต cholesterol จะถูกหุ้มด้วยสาร lipoproteins ซึ่งจะทำหน้าที่ขนส่ง cholesterol ไปตามกระแสโลหิต เพื่อส่งไปยังเซลล์ต่างๆ เพื่อนำไปใช้งาน lipoproteins ที่หุ้ม cholesterol มี 2 ชนิดคือ
1. Low-density lipoproteins (LDLs) ทำหน้าที่ขนส่ง cholesterol ไปเก็บไว้ตามเซลล์ต่าง ๆ เพื่อนำไปผลิตฮอร์โมน หรือไปสร้างผนังเซลล์ สำหรับ cholesterol ส่วนที่เกินความต้องการ LDLs จะนำไปเกาะไว้ตามผนังเส้นเลือดแดง และเมื่อมีการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้เส้นเลือดแดงตีบลง ในที่สุดจะเกิดการอุดตันของเส้นเลือดแดง ทำให้เซลล์บริเวณนั้นขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงทำให้เซลล์ตาย จึงเรียก LDLs ว่า cholesterol ชนิด "ร้าย"

2. High-density lipoproteins (HDLs) ทำหน้าที่ขนส่ง cholesterol ไปยังตับ และขับออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี เนื่องจาก HDLs ทำหน้าที่กำจัด cholesterol ส่วนเกิน จึงเรียกว่า cholesterol ชนิด " ดี"
Cholesterol มาจากไหน
เนื่องจาก cholesterol มีความสำคัญต่อร่างกายมากจนกระทั่งร่างกายจำเป็นต้องมีขบวนการสร้าง cholesterol ขึ้นเอง ทั้งนี้เพื่อประกันว่าจะมี cholesterol อยู่เสมอ ขณะที่ cholesterol อีกส่วนหนึ่ง ร่างกายจะได้จากอาหาร จำพวก นม เนย ไข่ และเนื้อสัตว์ แต่เนื่องจากพืชไม่สร้าง cholesterol ดังนั้นอาหารจำพวกพืชจึงปราศจาก cholesterol

ปกติร่างกายจะรักษาความสมดุลย์ของ cholesterol ให้คงที่เสมอ กล่าวคือ ถ้ากินอาหารพวกเนื้อสัตว์มาก ร่างกายก็จะลดการสร้าง cholesterol ลง ในทางตรงข้ามถ้ากินอาหารที่เป็นพืชมากร่างกายก็จะสร้าง cholesterol เพิ่มขึ้นเพื่อชดเชย โดย cholesterol ส่วนเกินจะถูกส่งไปที่ตับในน้ำดี และถูกกำจัดออกทางอุจจาระ

การสูงขึ้นของระดับ cholesterol ที่ผิดปกติ มีสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ จากพันธุกรรม และพฤติกรรมการกินอาหารของแต่ละบุคคล และอาจรวมถึงสาเหตุอื่นด้วย เช่น การขาดการออกกำลังกาย และการสูบบุหรี่เป็นต้น
Cholesterol มีผลต่อหัวใจอย่างไร
เซลล์ต่างๆ เมื่อได้รับ cholesterol เพียงพอแล้ว ก็จะหยุดการรับ cholesterol ทำให้ LDLs จึงต้องนำ cholesterol ส่วนที่เกินไปเกาะอยู่ตามผนังของเส้นเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงตีบลงเรื่อยๆ ส่งผลให้การไหลของเลือดไปเลี้ยงเซลล์บริเวณนั้นลดลง และถ้าหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงหัวใจตีบลง เหลือเพียง 30% ของขนาดหลอดเลือดปกติ ก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งเรียกว่า " angina" ซึ่งมักแสดงอาการเมื่อหัวใจต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการออกกำลังกาย กรณีที่เลือดไปเลี้ยงหัวใจบางส่วนถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง จะทำให้เซลล์บริเวณนั้นตาย และอาการหัวใจล้มเหลว ( hart attack) อาจปรากฎขึ้น และถ้าเซลล์ของหัวใจถูกทำลายมาก ก็อาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
การตรวจ Cholesterol จะทำอย่างไร
การตรวจหาระดับ cholesterol ในเลือดเป็นด่านแรกในการควบคุมระดับ cholesterol ผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจหาระดับ cholesterol อย่างน้อยทุก 5 ปี เมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจระดับ cholesterol อย่างน้อยปีละครั้ง ระดับ cholesterol ที่วัดได้ จะรายงานเป็นจำนวนมิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มิลลิลิตร ( mg/dl)

ระดับ total cholesterol
ต่ำกว่า 200 mg/dl
= ระดับที่เหมาะสม

200-239 mg/dl
= คาบเส้น
สูงกว่า 240 mg/dl
= สูงผิดปกติ
ระดับ cholesterol ที่อยู่ในช่วงคาบเส้น ควรทำการตรวจซ้ำ 2-3 ครั้ง แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย ถ้ายังคงอยู่ในระดับเดิมควรเริ่มต้นควบคุม โดยการลดอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ลง ขณะที่ระดับ cholesterol ที่สูงกว่า 240 mg/dl ควรใช้วิธีควบคุมอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดการสูบบุหรี่ รวมทั้งอาจต้องใช้ยาร่วมด้วย

ระดับ HDL cholesterol
สูงกว่า 35 mg/dl
= ระดับที่เหมาะสม
สูงกว่า 60 mg/dl
= ไม่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ
ระดับ LDL cholesterol
ต่ำกว่า 130 mg/dl
= ระดับที่เหมาะสม

130-159 mg/dl
= คาบเส้น
สูงกว่า 160 mg/dl
= มีความเสี่ยงโรคหัวใจสูง
Cholesterol Ratios

การคำนวณ cholesterol ratios จะช่วยบอกภาวะของความเสี่ยงโรคหัวใจได้อีกอย่างหนึ่ง โดยมีหลักว่า total cholesterol / HDL ratio สูงกว่า 6 และ ratio ของ LDL / HDL สูงกว่า 4 ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูง
Cholesterol และความเสี่ยงโรคหัวใจ
จากการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีระดับ cholesterol สูงกว่า 240 mg/dl จะมีความเสี่ยงโรคหัวใจสูง แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น
1. ชาย อายุ 45 และหญิง อายุ 55 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะสตรีที่รอบเดือนหมดก่อนอายุ 45 ปี และไม่ได้รับฮอร์โมนทดแทน
2. ความดันโลหิตสูง (สูงกว่า 140/90)
3. สูบบุหรี่
4. HDL ต่ำกว่า 35 mg/dl
5. โรคเบาหวาน
6. ครอบครัวมีประวัติโรคหัวใจ
7. ความอ้วน
ผู้ที่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยงเหล่านี้ ควรควบคุม cholesterol ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ ถ้าไม่ได้ผล อาจต้องใช้ยาช่วย
Triglycerides สำคัญอย่างไร
สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตรวมทั้งพืช สามารถสังเคราะห์กรดไขมันได้เอง และสามารถนำมาสร้างเป็นไขมันเพื่อสะสมไว้เป็นพลังงานสำรองได้ โดยทั่วไปสัตว์จะสังเคราะห์ไขมันชนิดอิ่มตัว (saturated fat) ขณะที่พืชส่วนใหญ่สังเคราะห์ไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (unsaturated fat) ยกเว้นน้ำมัน
จากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว เป็นต้น จะมีไขมันชนิดอิ่มตัวอยู่มาก

อย่างไรก็ตามไขมันไม่อิ่มตัว อาจถูกเปลี่ยนเป็นไขมันอิ่มตัวได้ด้วยขบวนการทางเคมี เช่น เนยเทียมและน้ำมันพืชบางชนิด โดยทั่วไปเนื้อปลา และเนื้อไก่ จะมีไขมันไม่อิ่มตัวมาก แต่ไขมันอิ่มตัวน้อย แต่ เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแพะ เนื้อแกะ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไขมันอิ่มตัว ขณะที่เนื้อหอย กุ้ง ปู จะมี cholesterol สูง แต่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ

ข้อเสียของไขมันอิ่มตัว คือ มันจะเข้าไปขัดขวางการใช้ cholesterol ของเซลล์ ทำให้ cholesterol ไม่ถูกนำไปใช้ จึงคงอยู่ในกระแสเลือดในระดับสูง แต่ในทางตรงข้ามไขมันไม่อิ่มตัวจะช่วยเสริมให้เซลล์นำ cholesterol จากเลือดไปใช้ ทำให้ระดับ cholesterol ในเลือดลดลง ดังนั้น การบริโภคเนื้อแดง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับ cholesterol ในเลือดสูง การตรวจสุขภาพโดยการวิเคราะห์ระดับ triglycerides ร่วมกับ cholesterol และ HDL จึงช่วยในการวิเคราะห์ปริมาณไขมันในร่างกายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ระดับ triglycerides
ต่ำกว่า 150 mg/dl
= เหมาะสม
แม้ว่าระดับ triglycerides ในเลือดจะไม่เป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงของโรคหัวใจ เนื่องจาก triglycerides ไม่ได้เป็นสาเหตุของการตีบของหลอดเลือดแดง แต่ระดับ triglycerides ที่สูงในเลือด อาจเป็นการแสดงว่ามีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะกรณีที่มีระดับ HDLs ในเลือดต่ำ หรือ LDLs ในเลือดสูงอยู่แล้ว





Untitled Document



ทำบุญประจำปีคลินิก



ตรวจสุขภาพประจำปี บริษัท สายน้ำทิพย์เด็นทอลแลบอราตอรี่ จำกัด



ตารางฉีดวัคซีน ปี 2563

Untitled Document

Untitled Document
สหแพทย์รัชดา คลินิกเวชกรรม 169/63 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทร.02-2758120 (มือถือ)0981045467 ; แฟกซ์ : 02-2758120
รายชื่อบริษัทประกันกลุ่ม สามารถเข้ารับบริการที่สหแพทย์รรัชดา คลินิกเวชกรรม